สวัสดีค่ะ วันนี้ก็มาพบกับเรื่องเล่า
ตำนาน ลี้ลับอีกแล้วนะคะ
มาดูว่าวันนี้จะมีเรื่องเล่าหลอนๆเรื่องอะไรมาให้ท่านผู้อ่านได้อ่านกัน ไปดูกันเลยจ้าาาา
คัปปะหรือกัปปะ
รูปร่างและลักษณะนิสัยของคัปปะ
คัปปะมีรูปร่างลักษณะแตกต่างออกไปตามแต่ละความเชื่อ
แต่โดยรวมแล้วคัปปะจะเป็นส่วนผสมของสัตว์น้ำหลาย ๆ ชนิด เช่น เชื่อว่าคัปปะมีส่วนสูงเพียง
3–4 ฟุต
มีผิวหนังสีเขียวหรือสีน้ำตาลกระดำกระด่าง มีเมือกลื่นคล้ายสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
หรือมีขนดกทั่วทั้งตัว หรือกระทั่งมีเกล็ดหุ้มลำตัวเหมือนปลา
และที่หลังมีกระดองเต่า นิ้วของคัปปะมีลักษณะคล้ายกับกบ คือ
มีพังผืดเชื่อมต่อกันเพื่อใช้ในการว่ายน้ำ ใบหน้าและปากของคัปปะแหลมยาว
มีจะงอยปากงุ้มที่แข็งแรงและคมกริบมาก
บนกลางศีรษะจะแบนราบเหมือนจานไม่มีเส้นขนหรือผม แขนขาของคัปปะยาวและยืดหยุ่นได้
เป็นปีศาจที่อาศัยอยู่ตามหนองน้ำหรือแหล่งน้ำต่าง ๆ เชื่อว่า อาหารที่คัปปะชอบคือแตงกวา ชอบเล่นซูโม่อเพราะมีพละกำลังมาก ลักษณะพิเศษคือ มีจานอยู่บนหัวไว้เก็บน้ำ
ซึ่งน้ำจะทำให้คัปปะมีพลังพิเศษ และมีพละกำลังมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าสูญเสียน้ำไป
คัปปะจะอ่อนแรงลงอย่างมาก ถึงขนาดที่ไม่สามารถขยับตัวได้
ถึงแม้ว่าคัปปะจะมีรูปร่างพอ ๆ กับเด็ก แต่ก็เป็นผีที่เอาชนะได้ยาก
เมื่อคัปปะขึ้นจากน้ำจะหมดฤทธิ์ จึงใส่น้ำไว้บนศีรษะที่แบนราบของตัวเอง
ดังนั้นเมื่อพบเจอกับคัปปะให้ก้มคาราวะ เมื่อคัปปะคาราวะตอบ น้ำบนศีรษะจะหก
ทำให้หมดฤทธิ์ และอีกวิธี ก็คือ ให้เขียนชื่อตัวเอง ลงไปในแตงกวา
แล้วขว้างลงไปในแม่น้ำ เมื่อ คัปปะ มาเจอแตงกวานี้เข้าก็จะกินอย่างเอร็ดอร่อย และ
ก็จดจำชื่อ ที่อยู่บนแตงกวาด้วย คราวหน้าบังเอิญต้องเจอะเจอเจ้าของชื่อ คัปปะ
ก็จะไม่ทำอันตรายอะไร ปัจจุบันมีซูชิชนิดหนึ่ง ไส้แตงกวา เรียกว่า "คัปปะมะกิ" (ญี่ปุ่น: カッパまき)
คัปปะมีความมั่นใจในพละกำลังตัวเองมาก
มักจะท้ามนุษย์ในการแข่งซูโม่ จึงมีเรื่องเล่าว่า
คนที่ฉลาดจะทำความเคารพคัปปะก่อนเริ่มการประลอง ด้วยการก้มศีรษะ แล้วคัปปะจะก้มตาม
ทำให้น้ำกระฉอกออกจากจาน คัปปะจะอ่อนแรงลง และพ่ายแพ้ในที่สุด ซึ่งจะทำให้คัปปะเสียใจอย่างมาก
ด้วยเหตุที่คัปปะ ชอบกินแตงกวา ในฤดูเก็บเกี่ยวแตงกวาของเกษตรกร
ที่ญี่ปุ่นจึงมีธรรมเนียมการลอยแตงกวาลงแม่น้ำ เพื่อเซ่นเทพเจ้าแห่งน้ำ
และทำทานให้ผีอดโซ เป็นที่มาของเรื่องเล่าที่ว่า หากชายใดแก้ผ้าลงเล่นน้ำในแม่น้ำ
อาจถูกคัปปะดึงของลับ เพราะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแตงกวาที่เอามาเซ่น
คัปปะมีนิสัยที่ขี้เล่นและอยากรู้อยากเห็น ซึ่งบางครั้งก็เป็นอันตรายกับมนุษย์
คัปปะก็มีความอันตรายเช่นเดียวกับผีร้ายอื่น ๆ มีเรื่องเล่าอยู่เสมอ ๆ
ว่าคัปปะเคยหลอกล่อให้คนลงไปในน้ำ มักจะลากม้า หรือ วัว, ควาย แต่ที่ชอบมากที่สุด คือ เด็ก ๆ ลงแม่น้ำจนจมน้ำตาย
หากถูกชาวประมงจับได้ จะผายลมออกมาป้องกันตัว ซึ่งมีกลิ่นเหม็นเป็นอย่างมาก
ทั้งยังมีเรื่องเล่าที่ว่า คัปปะจะคอยแอบอยู่แถว ๆ ห้องส้วม
เมื่อเผลอคัปปะจะแกล้งโดยใช้นิ้วสวนทวาร ซึ่งพฤติกรรมพิเรนนี้
อาจทำให้ถูกจับตัวได้ แต่คัปปะมีความสุภาพอ่อนน้อมและมีสัมมาคาราวะมาก
คัปปะเป็นผีที่มีความคิดความรู้สึกผิด จะมาขอโทษโดยการจับปลามาให้ที่หน้าประตูบ้านทุกวัน
หรือไม่ก็มอบยาสมุนไพรชั้นเลิศที่ปรุงขึ้นมาให้
ซึ่งเชื่อว่าคัปปะมีความเชี่ยวชาญด้านการปรุงยาลี้ลับอย่างมาก
ความเชื่อ
ความเชื่อเรื่อง
คัปปะ มีกระจายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่เกาะคิวชู มีตำนานเล่าว่ามีช่างไม้ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ชื่อ
ฮิดะริ จินโกะโระ
อ้างว่าตุ๊กตาไม้ที่ตนทำโยนลงน้ำ กลายเป็นคัปปะไป อีกตำนานก็เล่าว่า
เดิมคัปปะเป็นเทพที่ดูแลแม่น้ำลำคลอง แต่เมื่อมนุษย์เลิกนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์
คัปปะเลยตกชั้นเป็นเพียงภูติผีธรรมดา ที่ญี่ปุ่นในปัจจุบัน มีศาลเจ้าบูชาคัปปะ
โดยพ่อแม่ของเด็กจะนำของมาเซ่นไหว้คัปปะ เช่น เหล้าสาเก, น้ำ, คัมภีร์, กลอง เพื่อไม่ให้คัปปะยุ่งเกี่ยวกับลูกของตน และที่ร้านเหล้าแห่งหนึ่งห่างจากเมืองฟุกุโอกะราว 2 ชั่วโมง ก็มีสิ่งที่เชื่อว่าเป็นซากของคัปปะอยู่ด้วย
ซึ่งซากนี้มีอายุกว่า 400 ปี หรือในราวยุคเอโดะ โดยมีผู้พบที่ห้องใต้หลังคา
แต่ทว่าซากนี้ก็ยังมิได้มีการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงที่วัดแห่งหนึ่งในกรุงโตเกียวก็มีกระดูกเท้าของสัตว์ชนิดหนึ่ง
พระที่วัดแห่งนี้เชื่อว่าเป็นกระดูกของคัปปะ
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตววิทยาเห็นว่าไม่น่าจะใช่เท้าของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเพราะไม่ปรากฏพังผืด
แต่น่าจะเป็นเท้าของสัตว์จำพวกสุนัข อาจเป็นไปได้ว่า
สิ่งที่มีบุคคลเห็นเป็นคัปปะ คือ สัตว์บางประเภทเช่น นาก หรือ ลิง
มาก้มดื่มน้ำในเวลากลางคืนก็ได้
ที่เมืองโตะโนะ จังหวัดอิวะเตะ ในภูมิภาคโทโฮะกุ มีความเชื่อเรื่องคัปปะมาก
จนกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำเมือง ที่นี่มีพยานจำนวนมากที่อ้างว่าตนพบเห็นคัปปะ
ผู้ที่เคยพบกล่าวว่าเห็นคัปปะในพุ่มไม้ มีตาแวววาว เชื่อว่าอาศัยอยู่ในแม่น้ำ
เมื่ออากาศหนาวก็ย้ายเข้าไปอยู่ในถ้ำ ที่นี่มีแม่น้ำ คือ แม่น้ำคัปปะบุชิ (カッパ淵) เชื่อว่าที่ต้นน้ำเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของคัปปะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น